วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2565

WBSC U-18 Baseball World Cup 2022 - 2

พาร์ท 2 คงจะจบแค่นี้ ทิ้งห่างกับพาร์ท 1 ประมาณ 10 วัน 
ขอเวลาทำใจ  ยาวมาก เขียนบล้อกด้วยความไบแอสรวมถึงความเจ็บใจส่วนตัว กลายเป็นบล้อกบ่น 
ย้ำว่ายาววววววว


บล้อกที่แล้วลงขาดไปรูปนึง 
ทีมชาติเราจะประมาณนี้  รูปที่สว่างๆที่สุดคือน้องสุสุกิ Toy เพราะโดนเรียกมาทีหลัง
เห็นในเบื้องหลังว่า พื้นหลังตอนถ่ายรูปก็จะเป็นกำแพงแถวสนาม 

กติกาอธิบายให้ชัดเจนก็คือ แข่ง 7 อินนิ่ง 
จะคอลเกมก็ต่อเมื่อ อินนิ่ง 5 ห่างกัน 10 รันขึ้นไป
อินนิ่ง 8 ขึ้นไปจะเป็นไทเบรค ให้แข่งด้วยสถานการณ์โนเอาท์รันเนอร์เบส 1,2



09.11 การแข่งญี่ปุ่น กับ เม็กซิโก ไลน์อัพดังนี้





สตาร์ทคือ โคไซ จาก คิวชูโคขุไซ
เริ่มแรกก็ลองโซนกรรมการกันเลย 2 วอล์ค 1 เด้ดบอลจนฟุลเบส แต่ก็ปิดอินนิ่งด้วย 0 รัน
จริงๆไม่รู้จะพูดยังไงกับโซนกรรมการเกมนี้ 
ด้วยความที่โคไซเป็นพิทเชอร์สายคอนโทรล ไม่มีความไวใดๆ ปกติจะเล่นแต่ขอบๆริมๆ
เน้นเอาท์คอร์สมุมที่แบตเตอร์ตีไม่ได้ แต่ปรากฏว่ากรรมการมองเป็นบอล
แคทเชอร์ก็งง พิทเชอร์ก็งง คนดูก็งง ถึงกับมีคนมานั่งวิเคราะห์ว่า โซนกรรมการเป็นยังไงกันแน่
ก็พิศวงดี   มีข่าวด้วย 

โคไซขว้างจนอินนิ่ง 4 เสียไปแค่ 1ฮิตเท่านั้น (ฮิตแบบเซฟตี้บันท์ แย่ม้าก เบส3รับไม่ทัน)
ที่เหลือเค้าขึ้นเบสด้วยวอล์คหมดเลย แหะๆ
อินนิ่ง 5 ก็มีมิยาฮาระ ลงมาปา น้องปา 3 อินนิ่งเสีย 3 ฮิต 1 รัน 

ส่วนทางด้านทีมบุก
ทางแจแปน ตีได้ในอินนิ่งแรกได้คะแนนจากการทำแต้มของเหล่าโอซาก้าโทอิง
มัตสึโอะฮิตขึ้นเบส เอบิเนะส่ง และอิโต้คุงก็ตีส่ง  ทำให้ญี่ปุ่นนำมาก่อน 3 รัน
เอ้านี่มันแข่งโอซาก้าโทอิง
จบเกมนัดเม็กซิโก ญี่ปุ่นชนะด้วยแต้ม 4-1 รัน

09.12 การแข่งญี่ปุ่น กับ ปานามา ไลน์อัพดังนี้

สตาร์ทด้วยน้องแฝดโมริโมโตะเบอร์ 17
(น้องแฝดที่ทำใจไว้ก่อนเลยว่าน้องแจกหนัก แต่ก็ไม่หนักเท่าที่คิด)
ต้องบอกว่าเกมนี้หืดขึ้นคอมากๆ
น้องแฝดจริงๆก็ปาดี แต่มาลั่นเสียรันอินนิ่ง 5  เสียไป 2 รัน 
เหล่ารีลิฟที่มาเสริมก็จะมี โนดะ มาอินนิ่ง 6  และ ยามาดะมาอินนิ่ง 7  
ยามาดะนี่ก็มาถึงแล้วแจกเลย จนปานามาตีเสมอในอินนิ่ง7
แต่ดีที่อุสึมิคุงเบอร์ 3 ตีลูกเซฟฟลายได้ ได้ซาโยนาระปานามาไป  ชนะด้วยแต้ม 4-5x



.

09.13 การแข่งญี่ปุ่น กับ ออสเตรเลีย 


กลับมาสตาร์ทด้วย น้องเซโมริ อายูตะ เบอร์ 16 จากโอกินาว่า
ที่ปารอบแรกกับอิตาลี
วันนี้แต้มล้นจุกอกมาก น้องก็ปาดีแหละ แต่อินนิ่งแรกเสียไป 2 ฮิตก็หวาดเสียวอยู่เลยปาไปแค่ 2 อินนิ่ง
อินนิ่ง 3 เปลี่ยนเป็นโยชิมุระ จากเมโตขุ 
และอินนิ่ง 4-5 ใช้คาวาฮาระ จากโอซาก้าโทอิง 
ไม่เสียซักรัน ทีมพิทเชอร์ดีมาก

ส่วนเกมบุก จะบอกว่าตีได้เยอะก็พูดได้ไม่เต็มปาก
ทางทีมตรงข้าม error กันเยอะมากกว่า  มีอินนิ่งที่ยืนจนดันได้เข้าโฮมเฉยๆก็มี 

วันนี้โนดะ ได้ทำหน้าที่แคทเชอร์อย่างที่ควรจะเป็น  1 อินนิ่งถ้วน 
และ เกมนี้เราคอลเกมชนะไปด้วยคะแนน  10-0 



09.14 การแข่งญี่ปุ่น กับ ไต้หวัน

รอบสุดท้ายของ Opening Round เกมเจ้าปัญหา
วันนี้ก็วนกลับมาที่โคไซเป็นสตาร์ท แคทเชอร์ก็เป็นมัตสึโอะชิองเหมือนเดิม
ทำไมไม่ใช้โนดะ เป็นแคทเชอร์ ก็ไม่เข้าใจเหมือนกัน


คือโคไซเค้าได้รับเลือกมาทีมชาติเพราะโค้ชบอกว่า เป็นพิทเชอร์ที่คอนโทรลดี
ไม่ค่อยมีว้อค แต่มาทีมชาติคือว้อคเยอะสุด ก็ไม่รู้ทำไม วอล์คมากกว่าทัวร์นาเม้นทั้งปีรวมกัน
มันมีบางลูกที่แคทเชอร์บอกว่า ลีดเข้ากลาง เด็กที่ม้านั่งก็บอกว่า
เข้าโซนชัดๆ แต่กรรมการก็ขานบอลๆๆๆ ตลอด
เด็กก็งง แคทเชอร์ถึงกับบอกว่าไม่มีลูกจะเรียกแล้วนะแบบนี้

โคไซมาปาไป 1 อินนิ่งกว่าๆ
เพราะในอินนิ่ง2 เสียไป 1 ฮิต  แต่ก็สไตรค์เอาท์จน 2 เอาท์แล้ว
แต่ดันวอล์คเพิ่มอีก 2 คน จนมังรุย
ทีนี้โค้ชเรียกเปลี่ยนตัว  จริงๆคิดว่าโค้ชเปลี่ยนเร็วไปมาก สถานการณ์แบบนี้น้องน่าจะจัดการได้
อย่างน้อยก็เสียแค่ฮิตแบบใกล้ๆ ปกติไม่เคยมีใครงัดบอลไปไกล
มัน อารัย กันนะ
สถานการณ์ฟูลเบส 2 เอาท์

พิทเชอร์ที่เลือกมาคือ มิยาฮาระค่ะ  นี่ก็รักเพื่อน ล้างให้หมดเบส แถมเพิ่มมาอีกรันด้วย
อินนิ่ง 4 ไต้หวันทำไป 4 รัน .... และอินนิ่งต่อมา น้องมาต่ออีก  แจกอีก 4 รัน
กลายเป็นว่า จบอินนิ่ง 3 ไต้หวันนำไป 8 รันแล้วจ้า
เกมนี้แพ้ จบด้วยแต้ม 9-2  คิดว่าพอเด็กๆเสียรันแล้วลนๆ เอร่ากันตลอดเลย  
อาซาโนะเจ็บตัวด้วยเกมนี้  



Super Round
09.16 การแข่งญี่ปุ่น กับ เกาหลี
วันนี้สตาร์ทเป็นพระเอกของเรากัปตัน ยามาดะเบอร์1 
เกมที่แล้วว่าขิตแล้ว  เกมนี้ขิตกว่า ไม่มีอะไรจะบรรยาย
นอกจากคำว่าง่วง  ญี่ปุ่นตีกันได้แค่ 4ฮิต และไม่มีรันเลย 
ไฮไลท์คือ ทีมเกาหลีมีพิทเชอร์คนนึงชื่อคิมซอฮยอน ปาประมาณ 163km...
มีน้องอิโต้ที่ทำฮิตได้คนเดียว ที่เหลือยืนมอง



Super Round
09.17 การแข่งญี่ปุ่น กับ เนเธอแลนด์
   
พอรู้ชื่อสตาร์ทเตอร์ว่าเป็นคาวาฮาระ ก็คือไม่ห่วงเลย เพราะแคทเชอร์ก็เป็นมัตสึโอะ
แบตเตรี่ โอซาก้าโทอิง  เค้าฝึกกันมาไม่รู้กี่ปีแล้ว ซึ่งคาวาฮาระทำได้ดีเกินคาด
ปาคนเดียวทั้งเกม 5 อินนิ่ง เสียไป 3 ฮิต เท่านั้น

เป็นเกมที่เสียดายแทนฝั่งตรงข้าม  เป็นวันที่ฝนตกๆหยุดๆ ตกๆ
แข่งตี 3 ไทย  คอลเกมประมาณ 8 โมงครึ่ง

ที่สำคัญคือ ญี่ปุ่นชนะ 0-1 รัน  ด้วย 1 ฮิตเท่านั้น จาก น้องฟุจิโมริ.....
ขึ้นเบสได้ด้วย walk , error
เขิน อาย มากกกกกกน้องๆ
แต่คอลเกมเพราะสภาพอากาศเลวร้ายมาก อย่าหาไปแข่งที่ฟลอริด้าอีกค่า
ไม่ค่อยพูดถึงเกมบุก เพราะบุกไม่ค่อยได้แหละ แหะๆ



Super Round
09.18 การแข่งญี่ปุ่น กับ USA
เกมนี้ แข่ง 2 รอบ เพราะพายุเข้า ทำให้กลายเป็น Suspend Game 
ช่วงแรก 
น้องแฝดโมริโมโต้เป็นสตาร์ท
อินนิ่งแรก ญี่ปุ่นทำแต้มทำไปก่อน 1-0 รันจากการตีของอุสึมิคุง ไม้ 4
แต่ในอินนิ่ง 2 ครึ่งหลัง ทางเมกา ฮิตรัวๆจากน้องแฝด ทำให้เสีย 2 รัน
และน้องแฝดก็ต้องออกจากสนามทั้งๆที่สถานการณ์ no out full base 
แต่มีฮีโร่มาช่วย นั่นก็คือยามาดะนั่นเอง
ออกมาปิดอินนิ่งได้โดยไม่เสียรันเพิ่ม 
ฝนก็ตกหนักๆหยุดๆ

ในอินนิ่ง 3 ครึ่งแรก ญี่ปุ่นก็ขึ้นเบส กันด้วยวอล์ค และฮิต 
แล้วก็ทำแต้มนำขึ้นไปก่อนเป็น 3-2 รัน จากการตีของอิโต้คุง 
และขึ้นเบสกันต่อ จนเบสโหลด แบบไม่มีเอาท์ใดๆ เป็นรอบตีของเอบิเนะ 
ฟีลกำลังได้เลยอ่ะ คิดว่ามีแรงฮึด ถ้าตีต่อไปแต้มคงไหลมาเรื่อยๆ
แต่.....เค้าหยุดเกมก่อนจ้ะ

ที่สงสัยคือ ฝนหยุดไปแล้ว  ยังไม่เทรอบใหม่ แต่เห็นลมแรงๆ
หรือยังไง
ตามภาพเนี่ย ที่แค้ปไว้ไม่มีฝนซักเม็ด แต่หยุด หรือเป็นฝนที่เรามองไม่เห็น



ไปๆมาๆ.....ก็บอก suspend......
และด้วยความที่มันเป็นวันสุดท้าย การเลื่อนแข่ง จะใช้ระบบ ดับเบิ้ลเฮดเดอร์
คือ แข่งคู่ญี่ปุ่น-อเมริกาคู่นี้จบ  ก็จะพัก 40 นาที แล้วต่อด้วย คู่ชิงแชมป์ 
แล้วก็พัก 40 นาที
แล้วแข่งชิงที่ 3  ซึ่งเป็นคู่ ญี่ปุ่น vs xxx แล้วแต่ว่าจะชนะไหม


พอ Suspend ก็มาเริ่มที่อินนิ่ง 3 สถานการณ์ no out full base ญี่ปุ่นเป็นฝ่ายบุก
จู่ๆลมเปลี่ยนทิศ  
จากที่ตอนตีสี่นำอยู่ดีๆ มาแข่งสองทุ่มแล้วเหมือนมึนๆ เมาๆ 
อเมริกาเหมือนไปนอนมาแล้วอย่างเต็มอิ่ม
แล้วก็เปลี่ยนพิทเชอร์ด้วย
มาถึงก็ 3 คน  3 k ไปเลย  จากรันเนอร์เต็มเบส  อะไรกันครับเนี่ย
ในครึ่งหลัง 4 อินนิ่ง ทางญปมี 1 ฮิต จากอุสึมิ ไม้ 4 เท่านั้น

นำ3-2 มาจนอินนิ่ง 7
พิทเชอร์อินนิ่งสุดท้าย ยูเซฟุ ก็ปล่อยฮิตไป 1 ฮิต รันเนอร์ขึ้นเบส
ส่วนแบตเตอร์คนต่อมา คือ ขึ้นเบสได้เพราะ error
สถานการณ์โนเอาท์ รันเนอร์บนเบส 2 , 3  
ซ้ำร้ายยยย ยังจะ balk เขาอีก 
อเมริกาได้แต้มฟรีๆไป  1 รัน 
และแล้วโค้ชก็เปลี่ยนตัวพิทเชอร์ ในสถานการณ์ โนเอาท์ รันเนอร์บนเบส 3
แต้ม เสมอ 3-3 

และนางบาปของวันนี้  โนดะ....พิทเชอร์คนอื่นไม่มีหรือจ๊ะ  ทำไมเอาแคทเชอร์ลง
เอาออกไปได้ 1 เอาท์ ด้วยสไตรค์เอาท์ 
แต่ก็ไม่ไหวเสียรันไปในที่สุด
จบเกม อเมริกา ซาโยนาระไป 3-4x.........

หลังเกมก็โดนทัวร์เกาหลีลง ว่าทำไมญี่ปุ่นไม่ชนะเมกา เขาไม่ได้เข้าชิงเลยแหะๆ 
กลายเป็นว่าคู่ชิงที่ 3 กลายเป็น ญี่ปุ่นกับเกาหลี ซะงั้น


ชิงที่ 3
09.19 การแข่งญี่ปุ่น กับ เกาหลี 
หลังจากคู่ชิง usa ได้แชมป์ และไต้หวันรองแชมป์ไปเรียบร้อยแล้วนั้น ก็มาถึงคราวของคู่เรา เป็นเวลาตี3ประเทศไทย

เกมสุดท้าย วนมาเจอแผลใจของญี่ปุ่น ที่โดนไป 8-0แบบตีแทบไม่ได้
นี่ก็เปลี่ยนบรรยากาศไปดูช่องเกาหลีแทน  อยากฟังภาษาเกาหลี  ได้ฟีลดี


สตาร์ทวันนี้เป็นพิทเชอร์ที่เชื่อใจได้สุดๆของญี่ปุ่นรอบนี้ น้องเซโมริอายูตะ 
เซโมริปา 3 อินนิ่งแรก ดีมากๆ  มาลั่นเอาอินนิ่ง 4
เจอ 2 รันโฮมรันเข้าไป แต่ก็ปิดอินนิ่งเอง จนจบ 4 

ส่วนคนมาต่อ อินนิ่ง 5 6 7 เป็นคาวาฮาระ ที่ตั้งแต่ลงสนามมา ยังไม่เสียซักรัน 
วันนี้คาวาฮาระก็ปิดได้ดีเช่นเดิม

ขอชมทีมบุกบ้าง นานๆทีจะฮิตกันเยอะๆ
โดยเฉพาะมัตสึโอะชิอง แคทเชอร์ วันนี้ 4-3 ไปเลย
เหล่าเพื่อนๆโอซาก้าโทอิงก็ไม่น้อยหน้า เอบิเนะ อิโต้ คนละ 2 ฮิต
ทำให้ 3 อินนิ่งแรก ญี่ปุ่นนำไปก่อน 6-0 รัน

แทบช้อก จู่ๆเอาแรงตีมาจากไหนกัน คงเห็นว่าเป็นเกมสุดท้าย สู้กันสุดใจ
จบเกมญี่ปุ่นชนะเกาหลี ได้ที่ 3 ไปครอง
ยินดีด้วยเด็กๆค่า



จบการแข่งก็มีพิธีรับรางวัล ซึ่งคาวาฮาระก็ได้รางวัลเวิลเบสพิทเชอร์
ส่วนแคทเชอร์ มัตสึโอะก็ได้รางวัลไปเช่นกัน
สุดยอดโอซาก้าโทอิง

พิทเชอร์ญี่ปุ่นผู้รอดชีวิต era 0.00 มี 2 คนคือ โนดะ กับคาวาฮาระ

ส่วนโคไซวอล์คเด้ดบอล 7 ย้อนแย้งมาก พิทเชอร์ที่ไม่ค่อยว้อค..
สถิติ bb/9 คือ 11.12
เยอะกว่าที่ผ่านมาทั้งปีรวมกันอีกมั้ง 

อยู่ญี่ปุ่นแหละดีแล้ว โซนอินเตอร์ไม่เหมาะกับคุณ

ทางด้านแบตเตอร์ก็มีอุสึมิ ที่ตีเก่ง และยืนเก่ง โดนว้อคไปขึ้นเบสไป 9 ที สุดยอดจริงๆ
โนดะก็ไม่ได้ลงตีซักครั้ง แคทเชอร์ก็เล่นไปอินนิ่งเดียว เอามาเป็นพิทเชอร์...ใช้งานผิดวัตถุประสงค์จัดๆ

ไม่อยากบ่นโค้ชอ่ะ มีของดีก็ไม่ใช้
อย่างน้องทอยงี้ อากาโฮริงี้ เอาไปเป็นรันเนอร์ ไม่ก็โค้ชเบส 
แบตเตอร์รี่เอาไป 2 คู่  ก็ไม่ใช้ 
นี่คาดหวังมากว่าจะใช้แบตเตอร์รี่คิวโคขุด้วย เกมที่โคไซลงให้โนดะเป็นแคทเชอร์บ้าง
แต่กลายเป็นอะไรก็ไม่รู้ งงๆ ไปเป็นแคทเช่อบุลเพน



แล้วการแข่งเนี่ย แทบทุกคืน ฝนตกระหว่างเกม บางทีก็พัก แล้วก็รอไปค่ะ
บางทีดีเลย์ครึ่งชั่วโมง ชั่วโมงครึ่ง
แข่งตีสาม บางเกมคอล 8โมงเช้า  คนดูคือหลับๆตื่นๆ 
คิดว่าผู้เล่นก็คงไม่ต่าง น่าจะมีปัญหากับฝนพอสมควร 
ขอตั้งคำถามว่าทำไมถึงมาแข่งเมืองนี้หน้ามรสุม



วันเสาร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2565

WBSC U-18 Baseball World Cup 2022

ไม่ได้กะเขียนอะไรเกี่ยวกับ U18 ปีนี้ 
(จริงๆชื่อทัวร์นาเม้นคือ2021 เพราะปีที่แล้วเลื่อนมา แต่ขอใส่2022 ไว้ เพราะมันมาแข่งปีนี้)
ปกติไปแข่งนอกทวีปตามยากมาก แต่ปีนี้มีฉายฟรีช่องอฟช
เรียนเชิญ ตารางตามเวลาญี่ปุ่น  https://sportsbull.jp/live/bwc2022-u18-u23/
พากย์อังกฤษนะคะ


ปีนี้ก็อย่างที่เขียนในบล๊อกที่แล้วว่าจะมีความชื่นชมเด็กบางคนเป็นพิเศษ
รายชื่อนักกีฬาตามในเว็บทีมชาติ โดยท้ายที่สุดมีเปลี่ยนตัว Line up 2 คน
เนื่องจากสภาพร่างกายไม่สมบูรณ์

พิทเชอร์ : ฟุรุคาวะ สึบาสะ จากเซนไดอิคุเอ พิทเชอร์มือซ้าย ทีมแชมป์โคชิเอ็ง
เปลี่ยนเป็น โยชิมุระยูเซฟุ จากเมโตขุ พิทเชอร์มือซ้ายไซด์โทรว
และอินฟิลด์ น้องนากาอิ จาก ชิโมโนะเซขิโคคุไซทีมรองแชมป์โคชิเอ็ง
เปลี่ยนเป็น สึสึกิโทอิ จากยามานาชิกักขุอิน


กลายเป็นว่า ไม่มีสมาชิกทั้งจากทีมแชมป์และรองแชมป์โคชิเอ็งเลย



ก่อนจะไปแข่งที่เมกาเด็กๆก็มีแข่งซ้อมกับริคเคียว วาเซดะ ลองพิทเชอร์สตาร์ท ลองเทคนิคหลายๆอย่าง
แล้วก็การแข่งขันใหญ่กับทีมชาติรุ่นมหาลัย ที่โซโซมารีน สนามที่ลมแรงที่สุดของประเทศ(คิดเอง)
ขอสรุปรวดๆในนี้
โดยพิทเชอร์สตาร์ทของทางฝั่ง รุ่น 18 คือโคไซของคิวชูโคขุไซ เบอร์ 13 
ปาลูกความเร็วไม่ถึง130 แต่มีดีที่คอนโทรลกับบอลเช้นอัพ
โค้ชทีมชาติ มาบุจิคังโตขุของเมโตขุชมไม่ขาดปากตั้งแต่รอบแรกโคชิเอ็ง
จับคู่กับโนดะเบอร์ 2 แคทเชอร์ของคิวชูโคขุไซเช่นกัน (คู่แบตเตอรี่ของเค้า)
ซึ่งก็คงยังตื่นเนินขว้างอยู่ อินนิ่งแรกมีแจกวอล์คขึ้นเบสไป2  คน   
คู่นี้เด่นด้านคอนโทรล ปกติจะเล่นลูกขอบกันลองโซนกรรมการ แต่บอลช้า ลมแรง
อาจออกมาไม่ได้ดั่งที่คิด คนที่ปาจนเป็นบอลก็ไม่ได้หลุดอะไรมากมาย

แล้วก็เสียรันไป 1 รัน ในอินนิ่งแรก จากการตีของไม้ 4 ฮิรุมะ (จาก ม. วาเซดะ ศิษย์เก่าอุระวะกักขุอิน )
 ส่วนอินนิ่ง 2 และ 3 ปิดฉากแบบ 3 คนออก
แจก K ยาซาว่า กับ มุเนยามะ แบตเตอร์มือเก๋าของทีมมหาลัยไปได้ 
ส่วนเรื่องทำแต้ม ถึงจะมีฮิตกันอยู่บ้าง แต่คนที่ทำแต้มได้จริงๆคือ อุสึมิ ไม้ 4 จากโคเรียว
ทำโซโล่โฮมรันไป

อินนิ่ง 4  ทีม 18เปลี่ยนพิทเชอร์เป็นมิยาฮาระ จากไคเซ
แจกเด้ดบอล โฟร์บอล จนเบสโหลด แต่ก็ปิดอินนิ่งได้ด้วยดี

อินนิ่ง 6 ทีม 18 เปลี่ยนพิทเชอร์เป็นน้องแฝดโมริโมโตะคนน้อง เบอร์ 17 มือซ้ายตีเก่งจากทีมอิจิฟุนะ 
น้องแฝดโม้ไว้ว่าแข่งที่นี่หลายเกมแล้ว (เพราะมาจากจังหวัดจิบะแข่งชิงก็แข่งสนามนี้) 
แต่เป็นคนที่ ตื่นสนามที่สุด   ปา2อินนิ่ง เสียไป 5 ฮิต 1 วอล์ค 3 รัน 

ส่วนอินนิ่ง 8 ครึ่งหลัง อินนิ่ง สุดท้ายของทีม 18
พระเอกก็มา เบอร์1ทีมชาติ กัปตันยามาดะ จากโอมิ พิทเชอร์สายตีลูกพลิกแพลงเยอะ
    
ซึ่งก็มีวอล์คอีกเช่นกัน  พิทเชอร์วอล์คทุกคน ลมมันแร๊ง
 โค้ชทีมชาติบอกว่า อยากให้ยามาดะเป็นรีลิฟและคอยขว้างปิด  โฟกัสที่การขว้าง
เรื่องการตี ฟิลดิ้งขอให้พัก เกมนี้ก็เลยยังไม่ได้ตี  และได้ออกมาปาแค่อินนิ่งเดียว
แต่ก็แจกไป 3K สวยๆ ทั้ง 3 เอาท์ 
จบเกม ทีมชาติมหาลัย ชนะไป 4-1 รัน   ก็ถือว่าไม่แย่มาก เพราะเด็กๆเพิ่งจะได้ซ้อมด้วยกัน 

ส่วนแข่งซ้อมกับวาเซดะรอบหลังนี่โดนถล่มทลาย
มีไซน์มิสด้วย น่าจะต้องจำสัญญาณกันให้แม่นๆ    

ซึ่งผลลัพธ์การแข่งต่างๆ ก็ไม่น่าพอใจเท่าไหร่
แต่โค้ชเขาก็พอใจแหละเพราะจะหาจุดบกพร่องเพื่อแก้ไขก่อนส่งออกไปแข่งนอกประเทศ


ทีมชาติรอบนี้ แข่งตั้งแต่ 9-18 กันยายน 
โดยกติกาเบสบอลยุโรป เล่นกัน 7 อินนิ่ง แบ่งเป็น กรุ๊ป A B 
(กติกาโดยละเอียดสามารถหาได้ใน regulation การแข่ง)
ทัวร์นาเม้นท์ที่ ญี่ปุ่นยังไม่เคยได้แชมป์เลย  สูงสุดคือรองแชมป์ตอน 2013 กับ 2015 เท่านั้น 



ซึ่งญี่ปุ่นก็จะอยู่สายเดียวกับ ไทเป เม็กซิโก ออสเตรเลีย ปานามา อิตาลี

การแข่งรอบแรกญี่ปุ่น เจอกันกับ อิตาลี 


ซึ่งทีมอิตาลีโค้ชก็บอกว่า ฟอร์มทีมกันมาตั้งแต่มีนาแล้ว ก็เริ่มๆกลัว แต่คนปาดีมันก็มี น้องเบอร์ 20 ชื่ออะไรซักอย่าง ดีมาก

รอบนี้แข่งตี 2 ไทย พิมพ์ไม่ได้ผิด ตี 2 ไทย แต่ด้วยความที่ฟลอริด้าฝนตกหนักมาก
ก็เลื่อนการแข่งมาเรื่อยๆๆๆๆ จน ตีสามสิบห้านาที ถึงจะเริ่ม  
ระหว่างแข่งก็มีหยุดเพราะฝนตกหลายรอบ แถมหยุดนานอีก
แข่งตีสามจบหกโมงครึ่ง ไม่เกินครึ่ง
ระหว่างรอก็นั่งดูสนามไปเรื่อยๆ - - ไม่มีอะไร ฝนตก
    
ทีมป้องกันของญี่ปุ่นช่วงแรกก็จะประกอบไปด้วยเด็กๆดังนี้
มัตสึโอะชิองของโอซาก้าโทอิง เป็นแคทเชอร์ตลอดเกม

เริ่มแรกญี่ปุ่นเป็นฝ่ายบุกก่อน ญี่ปุ่นทำแต้มนำไปก่อน 1 รัน จากการตีของอาซาโนะ และมัตสึโอะชิอง 

สตาร์ทวันนี้เป็นน้องเซโมริ อายูตะเบอร์ 16  จากโอกินาว่า โคนัน 
ซึ่งโค้ชให้สตาร์ทตั้งแต่แข่งซ้อมเกมแรกๆเลย น่าจะหมายมั่นปั้นมือไว้ให้สตาร์ทเช่นกัน
ซึ่งน้องอายูตะขว้างไป 3 อินนิ่ง วอล์คไป 1 คน (คนแรก) โดนไป 2 ฮิต และไม่เสียซักรัน 
ถือว่าเริ่มต้นได้ดีสำหรับการเป็นสตาร์ท

ส่วนอินนิ่ง 2 ครึ่งแรก ญี่ปุ่นเป็นฝ่ายบุก 
ฝนเริ่มเทลงมาอีกครั้ง แต่ปรอยๆ ทางทีมบุกก็ช่วยๆกันตี  ซึ่งอินนิ่งนี้ได้มา 5 รัน
เป็นญี่ปุ่นนำ 6-0 รัน 

ส่วนอินนิ่ง 3 เป็นต้นไป อิตาลีเปลี่ยนพิทเชอร์เป็นเบอร์ 20
ทางทีมญี่ปุ่นตีแทบไม่ได้เลย  เรื่องเกมบุกเราเลยจะขอพักแต่เพียงเท่านี้...


ในอินนิ่ง 4 ครึ่งแรกญี่ปุ่นเปลี่ยนพิทเชอร์เป็น คาวาฮาระเบอร์ 18 จากโอซาก้าโทอิง
คนนี้ปาดีมากที่สุด วันนี้คอนดิชั่นดูโอเค ไม่มีว้อคเลยซักคน 
3 อินนิ่งโดนไป 1ฮิตเท่านั้น

มีพักเอาผ้าใบมาคลุมระหว่างเกมเพราะฝนตก 
คุณพี่คอลเกมได้ไหม ง่วงมากแล้ว  แต่ไปอ่านกติกามามันคอลไม่ได้ มีแต่เลื่อนไปแข่งวันอื่น
ซึ่งคู่เกาหลีอ่ะเลื่อนตั้งแต่แรกเลย  แต่คู่นี้มันทำไมต้องฝืน


ส่วนอินนิ่ง 7 อินนิ่งสุดท้าย มีแขกรับเชิญพิเศษ
ญี่ปุ่นเปลี่ยนพิทเชอร์เป็นเบอร์ 2 โนดะ ไคโตะ จากคิวชูโคขุไซ
พิทเชอร์(?) มือขวา ปาได้ 146
ชอบน้องโนดะมาก เพราะงานหลักเป็นแคทเชอร์ งานรองเป็นพิทเชอร์ 
โค้ชเอาออกมาลองใช้งานตอนแข่งซ้อม2-3เกม
วันนี้ผลงานเป็นที่น่าพอใจ มีรันเนอร์ขึ้นเบสจากฮิต แต่ก็ทำดับเบิ้ลเพย์ปิดเกมไปอย่างสวยงาม
ก็เป็นคนที่สงสัยว่าถ้าเทินโปรจะไปตำแหน่งอะไรกันนะ สเกาท์บางคนที่ไปดูก็บอกว่าถึงจะตัวเล็กแต่พลังป้องกันแน่นหนามาก ทั้งบล็อคลูก ทั้งแรงแขน แรงขา รวมถึงความฉลาด ชมในทางที่ดีค่อนข้างเยอะ
เจ้าตัวแจ้งว่า ยังไม่ได้ตัดสินใจเรื่องอนาคต ขอหารือโค้ชที่โรงเรียนกับพ่อแม่ก่อน...


จบเกม ญี่ปุ่นชนะอิตาลีไป 6-0 รัน
พรุ่งนี้แข่งต่อกับเม็กซิโก ตอน6 โมงเช้าไทย  เวลาค่อนข้างดี ไม่แรงเหมือนวันนี้
ถ้าใครสนใจก็คือสามารถเข้าไปดูได้เลย ตามลิ้งค์ด้านบน จ้า


อันนี้เป็นบล็อกรวมๆไม่ได้รายงานทุกวัน
เดี่ยวอาจจะมาอีกทีตอนสรุปผลเลยค่า

ช่วงนี้ก็นั่งดูเว็บลงชื่อดราฟท์ทุกวันว่ามีลูกเราคนไหนลงชื่อมั้ย...